- ประวัติความเป็นมาของสหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด
สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอมวกเหล็กซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระบุรี
มีพื้นที่ติดกับอำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอยจังหวัดเดียวกัน นอกจากนี้พื้นที่อีกส่วนหนึ่งยังติดกับภาคอีสานตอนล่างได้แก่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และตำบลลำพญากลาง ตำบลลำสมพุงเป็น 2 ตำบลที่อยู่ชายแดนสุดของอำเภอมวกเหล็กติดกับภาคอีสานตอนล่างพื้นที่ทอดแนวยาวตามแนวสันเขาดงพญาเย็นซึ่งในอดีตเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา สภาพภูมิประเทศพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบตามแนวชายเขาอุดมไปด้วยไม้นานาพันธุ์และสัตว์ป่านานาชนิดๆ จากความสมบูรณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดต่างๆเพื่อมาประกอบอาชีพ
ที่ลำพญากลางและลำสมพุงเป็นจำนวนมาก ซึ่งการอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อมาประกอบอาชีพดังกล่าวทำให้พื้นที่ตำบลลำพญากลางและตำบลลำสมพุงประกอบไปด้วยคนหลายภาคหลายพื้นที่ แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข อาชีพส่วนใหญ่ที่ประชาชนเลือกคืออาชีพเพาะปลูกพืชไร่ เนื่องจากพื้นที่ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุประกอบกับฝนที่ตกต้องตามฤดูกาลจึงทำให้พืชผลที่เพาะปลูกได้แก่ข้าวโพด ข้าวฟาง ถั่วเขียวฝ้ายและมันสำปะหลัง
ได้ผลผลิตดีต่อมาในระยะหลังป่าไม้ถูกตัดและทำลายไปเป็นจำนวนมากส่งผลทำให้ฝนที่เคยตกต้องตามฤดูกาลเปลี่ยนเป็นสภาพที่แห้งแล้งไม่สามารถเพาะปลูกพืชอายุสั้นได้ผลเหมือนเดิม เกษตรกรในพื้นที่ส่วนหนึ่งก็เปลี่ยนอาชีพไปปลูกพืชทนแล้งแทนได้แก่ อ้อย แต่เนื่องจากการประกอบอาชีพปลูกอ้อยต้องใช้เงินทุนที่สูงแรงงาน
คนมากและเครื่องจักรเครื่องมือทางการเกษตรที่เหมาะสมทำให้เกษตรกรรายย่อยไม่มีทุนที่สามารถทำได้ เกษตรกรส่วนนี้จึงคิดที่จะเปลี่ยนอาชีพโดยให้ความสนใจการเลี้ยงโคนมแทนอาชีพเดิม
เมื่อเกษตรกรสนใจที่ประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนม ผู้นำในท้องถิ่นจึงได้พยายามที่จะหาข้อมูล
และขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การสนับสนุนอาชีพการเลี้ยงโคนมให้แก่เกษตรกร
และก็เป็นโอกาสที่ดีของเกษตรกรตำบลลำพญากลางและลำสมพุงเพราะว่าอำเภอมวกเหล็กเป็นที่ตั้งขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.) ดังนั้นหลายหน่วยงานจึงเห็นว่าเขตพื้นที่อำเภอมวกเหล็ก
เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การเลี้ยงโคนม เกษตรกรจึงได้รับการสนับสนุนทั้งจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนได้แก่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ( ส.ป.ก.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยมูลนิธิสุมิตตาองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ธนาคารกรุงเทพและกรมปศุสัตว์ ให้เกษตรกรได้ประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนมและจัดตั้งเป็นสหกรณ์โคนมขึ้น
จากนั้นกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับจังหวัดสระบุรีได้อบรมให้ความรู้เบื้องต้นแก่เกษตรกร หลังจากนั้นเกษตรกรก็ได้รับเงินจากธนาคารกรุงเทพและมูลนิธิสุมิตตาเพื่อจัดซื้อโคนมให้แก่เกษตรกรจำนวน 98 ราย แล้วจัดตั้งเป็นกลุ่มสมาชิกได้ 7 กลุ่มรวมโคนมทั้งหมดได้จำนวน 698 ตัว
เมื่อเกษตรกรได้รับโคนมและจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรแล้วก็ได้ดำเนินการประชุมเพื่อขอจัดตั้งเป็นสหกรณ์
โดยได้รับการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ชื่อสหกรณ์โคนมลำพญากลาง จำกัด ประเภทสหกรณ์การเกษตร แต่เนื่องจากสหกรณ์ตั้งอยู่ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินสหกรณ์จึงได้ขอจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2530 จากสหกรณ์โคนมลำพญากลาง จำกัด เป็นสหกรณ์โคนมในเขตปฏิรูปที่ดิน
ลำพญากลางจำกัดสหกรณ์ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น“สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด” เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 เพื่อการดำเนินธุรกิจแปรรูปนม และผลิตสินค้าเกี่ยวกับนม เพื่อการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ฟังสามารถจดจำ
ชื่อสินค้าของสหกรณ์ได้ ปัจจุบันสหกรณ์ดำเนินธุรกิจประกอบด้วย ธุรกิจรวบรวมและจำหน่ายน้ำนมดิบ
ธุรกิจแปรรูปน้ำนมดิบ ธุรกิจโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน ดำเนินงานด้านส่งเสริมอาชีพและการบริการด้านต่าง ๆ รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยยึดหลักการ
และอุดมการณ์สหกรณ์เพื่อประโยชน์ต่อมวลสมาชิก ชุมชนและสังคม
- ที่ตั้งและเขตแดนดำเนินงาน
สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด ปัจจุบันตั้งอยู่พื้นดิน ส.ป.ก. มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 59 หมู่ 18 ตำบล
ลำพญากลาง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี มีพื้นที่เขตแดนดำเนินงานครอบคลุม 3 จังหวัด นั้นประกอบไปด้วยตำบลลำพญากลาง ตำบลลำสมพุง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี จำนวน 28 หมู่บ้าน ตำบลจันทึก
อำเภอปากช่อง ตำบลหนองน้ำใส อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 10 หมู่บ้าน และตำบลเขาน้อย
อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดลพบุรี จำนวน 4 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 42 หมู่บ้าน
- วัตถุประสงค์และเป้าหมายการดำเนินงาน
สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติตามหลักและวิธีการสหกรณ์
เพื่อส่งเสริมให้ดำเนินธุรกิจโคนมร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือส่วนรวมโดยใช้หลักคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์และจริยธรรมอันดีงามมีการประหยัด อดออม เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิก
และส่วนรวมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม จนสามารถอยู่ดี กินดี มีสันติสุข รวมถึงช่วยเหลือตนเองและครอบครัว
ได้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักดำเนินงานตามข้อบังคับสหกรณ์ ดังนี้
- จัดหาวัสดุการเกษตรและเครื่องอุปโภคที่จำเป็นมาจำหน่ายให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป
โดยคำนึงถึงสมาชิกก่อนผู้อื่น - รวบรวมผลผลิตการเกษตร และผลิตภัณฑ์ของสมาชิก มาจัดการขายหรือแปรรูปออกขายโดยซื้อหรือรวบรวมจากสมาชิกก่อนผู้อื่น
- จัดให้มีเงินกู้หรือสินเชื่อแก่สมาชิก เพื่อการประกอบอาชีพ และการดำรงชีพ
- ส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
- ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกและชุมชน
- ร่วมมือกับสหกรณ์อื่น สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์
- องค์กร ชุมชนภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐเพื่อส่งเสริมและปรับปรุงกิจการสหกรณ์
- ส่งเสริมและเผยแพร่อาชีพการเกษตร หัตถกรรม อุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือการประกอบอาชีพอย่างอื่นในหมู่สมาชิกและครอบครัวสมาชิก รวมทั้งการส่งเสริมความรู้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมเพื่อให้สมาชิกมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง
- หลักเกณฑ์ในการดำเนินงานของสหกรณ์
การดำเนินการของสหกรณ์คณะกรรมการและพนักงานสหกรณ์ดำเนินการโดยยึดหลักตามเกณฑ์ชี้วัดดังนี้
- มีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
- มีการจัดทำบันทึกบัญชีเป็นปัจจุบัน
- ไม่มีการทุจริต
- ไม่ค้างชำระค่าบำรุงสันนิบาต
- เป็นสหกรณ์ที่ชำระเงินกู้ตามสัญญา
- ต้องมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน
- มีสมาชิกทำธุรกิจกับสหกรณ์ครบวงจร ได้แก่ การขายน้ำนมดิบ การซื้อสินค้าทำธุรกิจสินเชื่อ
การฝากเงิน ฯลฯ - มีทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี
- มีสมาชิกสหกรณ์ที่เป็นหนี้เกินกำหนดไม่เกินร้อยละ 20
- มีการดำเนินการออมทรัพย์
- มีเงินทุนสำรองเพิ่มขึ้นจากการจัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
- เงินปันผลตามหุ้นและเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิก
- ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือส่วนรวมและชุมชน
- ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แก่มวลสมาชิก ยกระดับความเป็นอยู่ให้แก่สมาชิก
ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น - หน่วยงานส่งเสริมกิจการสหกรณ์
- สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสระบุรี กรมส่งเสริมสหกรณ์
- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี กรมปศุสัตว์
- สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดสระบุรี( ส.ป.ก. )
- สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์สระบุรี กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
- อุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี กระทรวงอุตสาหกรรม
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส. )
- กิจกรรมเพื่อส่วนรวมชุมชน
- ด้านการศึกษา สหกรณ์ได้จัดทุนเพื่อมอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนโรงเรียนต่าง ๆ
จำนวน 15 โรง ในพื้นที่การดำเนินงานของสหกรณ์เป็นประจำ นอกจากนี้ยังสนับสนุนอุปกรณ์การศึกษา และจัดทอดผ้าป่าการศึกษาเพื่อหาทุนให้แก่โรงเรียน เป็นต้น - ด้านการกีฬา สหกรณ์มอบเงินเพื่อสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาเป็นประจำทุกปีประกอบด้วย
- งานกีฬาองค์การบริหารส่วนตำบล
- งานกีฬานักเรียนกลุ่มโรงเรียนระดับตำบลและระดับอำเภอ
- มอบชุดกีฬาให้แก่นักเรียนโรงเรียน ต่าง ๆ
- ด้านการศาสนาด้านการศาสนาทุกปีสหกรณ์จะจัดทุนเพื่อร่วมทำบุญทอดผ้าป่าและทอดกฐินแก่วัด
ต่างๆทั้งในเขตพื้นที่และนอกพื้นที่สหกรณ์
- ด้านสมาชิก
- สหกรณ์ได้จัดทำประกันภัยอุบัติเหตุให้แก่สมาชิกสหกรณ์
- สหกรณ์ได้จัดทุนเพื่อเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรมศพให้แก่สมาชิกและหรือญาติสมาชิกที่เสียชีวิตซึ่งสหกรณ์ได้ถือปฏิบัติตลอดมา
- สหกรณ์ ได้ให้ทุนสงเคราะห์สมาชิก ตามอายุปีที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ปีละ 2,000 บาท
- ด้านหน่วยงานราชการในแต่ละปีการดำเนินงานของสหกรณ์สหกรณ์ได้จัดสรรเงินเพื่อมอบให้แก่หน่วยงานที่ได้ให้การสนับสนุนการและช่วยเหลือในการดำเนินงานของสหกรณ์เพื่อใช้ประโยชน์ในแต่ละองค์กรเช่น สถานีอนามัย เป็นต้น
- ด้านส่วนรวม สหกรณ์ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยจากธรรมชาติและผู้ประสบอุทกภัยทางภาคกลางจึงได้ร่วมบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อช่วยเหลือ